พ่อพันธุ์เก่งมีผลงาน จ่ายลูกไม่หนีพ่อ ต้องไก่ชนพม่าที่นี่เท่านั้น
การเพาะพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนหรือการผสมพันธุ์ไก่ชนนั้นตามหลักการสากลแล้วจะมีกันอยู่ 4 วิธีด้วยกัน คือ
การผสมแบบอินบรีด เป็นการผสมแบบเลือดชิด คือ เอาพ่อมาผสมกับลูกสาว เอาลูกชายมาผสมกับแม่ หรือเอาพี่กับน้องมาผสมกัน เป็นการผสมที่ได้สายเลือดที่ชิดมาก เหมาะกับคนที่ต้องการเก็บสายเลือดที่เราชอบไว้
ข้อดี คือ เราสามารถเก็บสายเลือดนี้ไว้ได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ไว้ใช้สำหรับต่อยอดในอนาคตได้
ข้อเสีย คือ การที่เลือดชิดมาเกินไปก็จะมีผลเสียในเรื่องของยีนส์ ยีนส์ด้อยมันจะขึ้นมากลบยีนส์เด่น ทำให้ไก่ชนตัวผู้ที่ได้มานั้นมักจะใช้งานไม่ค่อยได้ ไก่มักจะมีความพิการกันเยอะทั้งทางร่างกาย ทางสมอง และทางด้านจิตใจ จึงไม่ค่อยมีคนนิยมนำไก่ที่มีเลือดชิดมาเล่นกันในสนาม ส่วนมากจะเป็นการเพาะเพื่อเก็บสายเลือดเท่านั้น
การผสมแบบไลน์บรีด เป็นการผสมที่นำเอาไก่ที่เกิดมาจากตระกูลเดียวกันมาผสมกัน แต่เป็นลูกหลานชั้นที่ 4 – 5 การผสมแบบนี้จะทำให้ได้สายเลือดที่นิ่ง ที่คงที่ พ่อแม่เป็นอย่างไรลูกก็จะออกมาเป็นอย่างนั้น แต่ข้อควรระวังคือ อย่านำเอาสายเลือดที่ชิดมากเกินไปมาผสมเพราะมันก็จะเหมือนกับการผสมอินบรีดแล้วจะมีผลเสียตามมา แต่ให้นำไก่ที่มีสายเลือิดเดียวกันแต่ห่างชั้นกันประมาณ 4 ชั้นไปมาผสมจะดีที่สุด
การผสมแบบเอ้าท์คอร์ส เป็นการผสมแบบข้ามตระกูลแต่มีเอกลักษณ์คล้ายๆกัน เช่น ไก่เชิงไทยผสมกับไก่ตราด ไก่ตราดผสมกับไก่พนัส ไก่ตราดผสมกับไก่ป่าก๋อย ไก่ชนพม่าลูกในผสมกับพม่าลูกนอก แต่การผสมแบบนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เยอะพอสมควร เพราะมันเป็นการจินตนาการว่าสองแบบนี้ผสมแล้วน่าจะออกมาแบบนี้ เราต้องเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้ดี ดูให้เป็นจับคู่ให้ถูก ถ้าเราจินตนาการผิดผลที่ออกมาก็จะไม่ค่อยดี
การผสมแบบคอร์สบรีด เป็นการผสมแบบข้ามสายพันธุ์ นำสายพันธุ์คนละแบบคนละขั้วมาผสมกัน วิธีนี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ เพราะการที่จะได้ลูกเพาะที่ออกมาดีนั้นค่อนข้างยาก และต้องนำไก่ที่แล้วมาผสมต่อยอดกันอีกหลายเที่ยวกว่าที่จะได้ไก่ที่สายเลือดนิ่งและสามารถใช้งานได้จริง เช่น นำไก่พม่ามาผสมกับไก่ไทย นำไก่พม่าผสมกับไก่ไซ่ง่อน นำไก่ชนพม่าไปผสมกับไก่ญี่ปุ่น เป็นต้น